ไร่แมคคาเดเมีย ใจ๋ทิพย์ สะเมิง

Follow Us @

แมคคาเดเมีย แหล่งโปรตีนที่เปี่ยมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และช่วยลดคอเลสเตอรอล

พฤศจิกายน 17, 2560



               แมคคาเดเมีย แหล่งโปรตีน

ที่เปี่ยมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และช่วยลดคอเลสเตอรอล 



                    


  เรามาดูกันเถอะว่า แมคคาเดเมีย สรรพคุณ และประโยชน์ จะมากมายขนาดไหนกัน
               ถั่วแมคคาเดเมียมีชื่อเสียงว่าเป็นถั่วมีรสชาติอร่อย แต่ราคาสูง ซึ่งในปัจจุบันแมคคาเดเมียกำลังได้รับความนิยมในการนำมาแปรรูปหรือนำไปเป็นส่วนผสมต่าง ๆ ในอาหารมากมาย อย่างเช่น เค้ก และสลัดเพื่อสุขภาพ แต่เชื่อว่าคงมีอีกหลายคนเช่นกันที่ยังไม่รู้จักเจ้าถั่วเปลือกแข็งชนิดนี้ดีพอ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขออาสานำทุกท่านไปทำความรู้จักกับถั่วแมคคาเดเมีย ถั่วที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งถั่ว ที่รับรองว่าใครที่กำลังสนใจอยากลองชิมถั่วชนิดนี้ จะต้องรีบหามารับปประทานอย่างแน่นอนค่ะ เพราะประโยชน์และสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพของแมคคาเดเมียมีมากมายจริง ๆ แต่ก่อนที่เราจะไปรู้ถึงสรรพคุณและประโยชน์ต่าง ๆ ของมัน เรามาทำความรู้จักกับราชาแห่งถั่วชนิดนี้กันซักหน่อยดีกว่าค่ะ
             ถั่วแมคคาเดเมียมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Macadamia integrifolia เป็นพืชในตระกูลนัท หรือถั่วเปลือกแข็ง เป็นพืชยืนต้นที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) แต่ไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียน จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) Boron Sir Ferdinand Jacob Heinrich von Mueller และ Walter Hill ได้ค้นพบแมคคาเดเมียแบบผลเล็ก ทั้งคู่จึงได้ขอจดทะเบียนแมคคาเดเมียเป็นพืชสกุลใหม่ โดยชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นพื่อเป็นเกียรติแก่เพื่อนสนิทที่เคารพรักใคร่ คือ ดร.John Macadam สำหรับแมคคาเดเมียนั้นมีสายพันธุ์ทั้งหมด 10 ชนิด แต่สามารถบริโภคได้ 2 ชนิด ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 9 องศาเซลเซียส และสูงสุดไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส และต้องเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ดูดซึม น้ำได้ดี
              ในประเทศไทยแมคคาเดเมียถูกนำเข้ามาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยองค์การยูซอม USOM: United state Operation Mission) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดส่งเมล็ดแมคคาเดเมียเข้ามาเพื่อให้ประเทศไทยทำการทดลองปลูก ผ่านทางกรมกสิกรรม (ในปัจุบันได้รวมกับกรมการข้าวกลายเป็นกรมวิชาการเกษตร) แต่ในสมัยนั้นการทดลองปลูกไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะต้นแมคคาเดเมียที่ปลูกส่วนใหญ่ไม่ติดผล ถึงแม้ติดผลแต่ขนาดของผลก็ไม่ได้มาตรฐานสากล หลังจากนั้นก็มีการทดลองอีกหลายครั้งจนกระทั่งประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2527 และในปัจจุบันแมคคาเดเมียได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้นำมาใช้เพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชาวเขาที่อยู่ในโครงการค่ะ
             คุณค่าทางโภชนาการของแมคคาเดเมีย
             
ในแมคคาเดเมีย 100 กรัมจะมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 718 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 7.91 กรัม
ไขมัน 75.77 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.82 กรัม
ไฟเบอร์ 8.6 กรัม
น้ำตาล 4.57 กรัม
แคลเซียม 85 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 3.69 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 130 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 188 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 368 มิลลิกรัม
โซเดียม 5 มิลลิกรัม
สังกะสี 130 มิลลิกรัม
วิตามินซี 12 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 1.195 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.162 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 2.743 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.275 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม
              แมคคาเดเมีย สรรพคุณ อันมหัศจรรย์ต่อร่างกาย
              
แมคคาเดเมีย เป็นพืชที่มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือดและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้ เพราะภายในเมล็ดแมคคาเดเมียนั้นมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และไม่มีคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กและแมกนีเซียม จึงทำให้ในปัจจุบันมีการนำเนื้อในของเมล็ดแมคคาเดเมียมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น อาหารขบเคี้ยว น้ำมัน แป้ง และนำมาเป็นส่วนผสมในขนมชนิดต่าง ๆ มากมาย และแมคคาเดเมียก็ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่นี้ แต่ยังมีสรรพคุณและประโยชน์อีกมากมายเลยเชียวล่ะ ไปดูกันเถอะว่ามีอะไรบ้าง
             
1. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ  แม้ว่าถั่วแมคคาเดเมียจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง แต่ไขมันชนิดนี้กลับเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเป็นไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว ภายในแมคคาเดเมียมีไขมันชนิดนี้ถึง 17 กรัมต่อออนซ์ (1 ออนซ์ = 28.3 กรัม) ไขมันชนิดนี้นี่ล่ะค่ะที่ดีต่อสุขภาพช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยทำความสะอาดหลอดเลือดแดงทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองลดลง นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย มีการรายงานถึงการศึกษาเมื่อปี 2012 ที่ตีพิมพ์ลงในสารสารการแพทย์ "Archives of Internal Medicine" ว่า ถ้าหากรับประทานถั่วแมคคาเดเมียแทนเนื้อแดงก็จะช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจให้ลดน้อยลงได้ค่ะ
             
2. เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของร่างกาย แมคคาเดเมียเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย สามารถนำมาทดแทนเนื้อสัตว์ในอาหารสุขภาพ อย่างเช่นสลัด ได้เลยล่ะค่ะ เพราะในแมคคาเดเมียมีโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อและเนื่อเยื่อส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งนอกจากมันจะช่วยบำรุงรักษากล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายแล้วมันยังช่วยบำรุงเล็บ เส้นผม และผิวหนังให้มีสุขภาพดีอีกด้วย
             
3. มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันมะเร็งและชะลอความแก่ชราได้สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในถั่วแมคคาเดเมียอย่างฟลาโวนอยด์ซึ่งจะพบแต่ในธรรมชาติเท่านั้น สามารถช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหายต่าง ๆ และปกป้องเซลล์จากสารพิษที่อยู่ในสภาพแวดล้อม โดยฟลาโวนอยด์เหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เข้าไปซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายและทำลายอนุมูลอิสระต่าง ๆ ในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ หรือโรคมะเร็งบางชนิด อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ในถั่วแมคคาเดเมียยังมีกรดพาลมิโทเลอิค (palmitoleic) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง สารชนิดนี้จะไปช่วยป้องกันไม่ให้เกิดริ้วรอยแห่งวัย ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นและอ่อนเยาว์อีกด้วยล่ะ
             
4. ช่วยลดน้ำหนักคนส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียเพราะคิดว่าเป็นถั่วที่มีไขมันสูง แต่ที่จริงแล้วไขมันที่อยู่ในถั่วชนิดนี้เป็นไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ช่วยในการลดน้ำหนักได้ด้วย แถมยังมีโอเมก้า 7 ซึ่งเป็นไขมันที่ใช้ในการสร้างเอนไซม์และควบคุมการเผาผลาญไขมันรวมทั้งลดความอยากอาหาร และมีกรดพาลมิโทลีอิค (palmitoleic) ซึ่งจะไปกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกายและช่วยลดการสะสมของไขมัน ถ้าใครที่กำลังคิดจะลดความอ้วนแต่กลัวว่าถั่วแมคคาเดเมียจะทำให้อ้วนล่ะก็ เปลี่ยนความคิดแล้วรีบหามารับประทานเดียวนี้เลยค่ะ
             
5. มีไฟเบอร์สูงช่วยในระบบขับถ่ายและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ แมคคาเดเมียมีไฟเบอร์ถึง 7% ซึ่งในไฟเบอร์นั้นประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไฟเบอร์ที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำอีกหลายชนิด ซึ่งไฟเบอร์นี่ล่ะที่จะช่วยทำให้เราอิ่มไวขึ้น ช่วยในการย่อยอาหารและลดอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ โรคผนังถุงลำไส้ใหญ่อักเสบ นิ่วในไตและนิ่วในถุงน้ำดีได้อีกด้วยค่ะ
            
 6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรงแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในแมคคาเดเมียต่างก็เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างเช่นฟอสฟอรัสซึ่งมีส่วนในการบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยในการเผาผลาญอาหาร ช่วยดูดซึมและขนส่งสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แคลเซียมช่วยบำรุงให้กระดูกและฟันแข็งแรง หรือแมงกานีสที่ช่วยในสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่ นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและลดความรุนแรงของโรคไขข้ออักเสบอีกด้วย ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชายล่ะก็ การรับประทานแมคคาเดเมียจะยิ่งทำให้คุณได้รับแมงกานีสเพียงพอต่อร่างกาย ในแต่ละวันผู้ชายจะต้องได้รับแมงกานีสเฉลี่ยวันละ 2.3 มิลลิกรับ ในผู้หญิงต้องได้รับ 1.8 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในถั่วแมคคาเดเมีย 1 ออนซ์ (28.3 กรัม) นั้นมีปริมาณแมงกานีสถึง 1.2 มิลลิกรัม ตีเป็น 52% ของแมงกานีสที่ผู้ชายควรได้รับต่อวัน และ 67% ของแมงกานีสที่ผู้หญิงควรได้รับต่อวันเลย
              
7. สร้างเสริมประสาทและสมองให้แข็งแรงการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียจะทำให้ระบบประสาทแข็งแรง ลดการเกิดตะคริวอันเนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแร่ทองแดงในแมคคาเดเมีย แร่ธาตุที่ช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารที่เซลล์สมองใช้เพื่อส่งสัญญาณทางเคมีไปยังประสาทเพื่อควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังมีโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการทำงานของสมอง ช่วยบำรุงประสาท และช่วยลดความเครียดได้
              
8. ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย ถั่วแมคคาเดเมียมีปริมาณของธาตุเหล็กสูงถึง 13% ของความต้องการในแต่ละวันของมนุษย์ และมีถึงเกือบ 6% ของสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันของผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี นอกจากนี้ยังมีทองแดงซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วคนเราจะต้องได้รับแร่ทองแดงในปริมาณ 900 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ในถั่วแมคคาเดเมีย 1 ออนซ์ (28.3 กรัม) มีแร่ทองแดงสูงถึง 214 ไมโครกรัมหรือตีเป็น 24% ของทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งถ้าหากได้รับแร่ทองแดงไม่เพียงพอก็จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดและอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ค่ะ
             
 9. ช่วยป้องกันการเป็นต้อกระจกถั่วแมคคาเดเมียเพียง 1 ออนซ์ (28.3 กรัม) มีปริมาณของวิตามินบี 1 ถึง 0.34 มิลลิกรัม คิดเป็น 28% ของทั้งหมดที่ผู้ชายควรได้รับต่อวัน และในผู้หญิงคิดเป็น 31% ซึ่งการศึกษาในปี 2005 ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ "Archives of Ophthalmology" ได้รายงานว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 จะช่วยทำให้โอกาสที่เลนส์แก้วตาจะพัฒนาไปในทางที่ผิดปกติจนกลายเป็นต้อกระจกลดลง
              
10. ไม่มีโซเดียม เหมาะกับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงในถั่วแมคคาเดเมียไม่มีโซเดียมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง การบริโภคโซเดียมมากจนเกินไปจะทำให้ระดับน้ำในร่างกายลดน้อยลง และหัวใจก็ต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้
             
 11. มีวิตามินบีสูง วิตามินบี 6 ที่มีในถั่วแมคคาเดเมียมีประโยชน์ช่วยให้คาร์โบไฮเดรตถูกเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ลดความเครียด และชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ นอกจากนี้วิตามินบี 1 ยังดีต่อสุขภาพหัวใจและระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย
              
แมคคาเดเมียกับประโยชน์ที่ไม่ควรพลาดแมคคาเดเมียนอกจากจะนำเมล็ดมารับประทานแล้วยังสามารถนำส่วนอื่น ๆ มาแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้อีกมากมาย ดังนี้
              
ถ่านแมคคาเดเมียถ่านแมคคาเดเมียเป็นถ่านที่ได้จากเปลือกและเมล็ดถั่วแมคคาเดเมียที่เหลือทิ้งจากการผลิตถั่วแมคคาเดเมีย มีราคาสูงกว่าถั่วเปลือกแข็งชนิดอื่น ๆ แต่สามารถใช้ดับกลิ่น ช่วยดูดสารพิษต่าง ๆ ได้ และช่วยทำให้อาหารสุกเร็วขึ้นอีกด้วย ถ่านแมคคาเดเมียมีคุณประโยชน์กว่าถ่านปกติทั่วไป เพราะถ่านแมคคาเดเมียใช้วิธีการผลิตในการเผาด้วยอุณหภูมิต่ำนาน 4 ชั่วโมง แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็น 1,000 องศาเซลเซียสนาน 1 วัน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ความชื้นและสารอินทรีย์ต่าง ๆ ระเหยออกไปจนหมดเหลือแต่คาร์บอนบริสุทธิ์ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลากหลายชนิด
              
นอกจากนี้ถ่านแมคคาเดเมียยังมีรูพรุนเล็ก ๆ มากกว่าถ่านปกติช่วยทำให้สามารถดูดซับกลิ่นได้มากขึ้น แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ถ่านแมคคาเดเมียสามารถนำไปทำน้ำแร่ได้ เพราะถ่านชนิดนี้มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายเช่นเดียวกับน้ำแร่ตามธรรมชาติ โดยการนำถ่านไปต้มในน้ำเดือด 10 - 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแล้วนำไปแช่ในน้ำดื่มหรืออาบ ถ่านแมคคาเดเมียก็จะช่วยดูดซับคลอรีนและปล่อยแร่ธาตุออกมากแทนที่ ถ่านสามารถใช้ได้นานถึง 3 เดือน
               
ส่วนในเรื่องการประหยัดพลังงาน ถ่านแมคคาเดเมียสามารถให้ความร้อนได้มากกว่าถ่านปกติ จึงทำให้อาหารสุกเร็วขึ้น โดยเฉพาะอาหารหรือเมล็ดพืชเปลือกแข็งที่ต้องนำไปแช่น้ำ และใช้เวลานานในการทำให้สุก ถ่านชนิดนี้สามารถทำให้อาหารเหล่านี้สุกไวขึ้นโดยไม่ต้องแช่น้ำก่อน ตัวอย่างเช่นข้าวเหนียว ข้าว กล้อง หรือข้าวสีนิล สามารถนำถ่านที่ฆ่าเชื้อแล้วใส่ลงไปในหม้อแล้วหุงข้าวได้ตามปกติโดยไม่ต้องแช่ทิ้งเอาไว้ก่อนหุง ซึ่งวิธีนี้สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 20%
               
น้ำมันแมคคาเดเมีย
               
น้ำมันแมคคาเดเมียผลิตมาจากเมล็ดแมคคาเดเมียที่ถูกนำมาสกัดด้วยความเย็น สามารถนำมาใช้บำรุงให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น หรือนำมาบำรุงผมที่เสียให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ เพราะในถั่วแมคคาเดเมียนั้นมีกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่เรียกว่า พาลมิโทเลอิค (palmitoleic) ซึ่งช่วยทำหนังศีรษะไม่แห้ง และช่วยฟื้นฟูเส้นผมที่หยาบและแห้งเสียให้ดูชุ่มชื้นขึ้นโดยการใช้น้ำมันเพียงเล็กน้อยนวดลงไปบนศีรษะแล้วล้างออก หรือจะใช้น้ำมันแมคคาเดเมียเพียงไม่กี่หยดช่วยบำรุงผมช่วยสร้างความยืดหยุ่นและกระตุ้นความเจริญเติบโตของเส้นผมได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ผมของคุณมันเยิ้ม
              
น้ำผึ้งแมคคาเดเมีย
              
น้ำผึ้งจากดอกแมคคาเดเมีย เป็นน้ำผึ้งที่มีรสชาติหวานปานกลาง นุ่ม มีกลิ่นหอม และเป็นสีทองอำพัน แถมน้ำผึ้งยังเปลี่ยนสีจากสีทองเป็นสีน้ำตาลช้ามาก ต่างจากน้ำผึ้งชนิดอื่น ๆ ที่จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้น้ำผึ้งดอกแมคคาเดเมียยังมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าน้ำผึ้งอื่น ๆ โดยเมื่อเปรียบเทียบน้ำผึ้งแมคคาเดเมีย 100 กรัม กับน้ำผึ้งชนิดอื่น ๆ ปริมาณ 100 กรัม ได้ผลดังนี้
             
 น้ำผึ้งดอกแมคคาเดเมีย
พลังงาน 12 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 83.7 กรัม
โซเดียม 3 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม
แคลเซียม 4.28 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 1.36 กรัม
               น้ำผึ้งชนิดอื่น ๆ 

พลังงาน 64 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 17.64 กรัม
โซเดียม 0.85 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัมเท่านั้น
แคลเซียม 1.27 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 1.36 กรัม 0.42 มิลลิกรัม
               นอกจากนี้น้ำผึ้งดอกแมคคาเดเมียมีสรรพคุณทางยา อาทิเช่นแก้อาการท้องเดิน ช่วยเร่งลำไส้ที่อักเสบให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น แก้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการไอ หลอดลมอักเสบ มีเสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสียรุนแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และยังช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ
              
แมคคาเดเมีย มีโทษหรือไม่?
              
ยังไม่มีการศึกษาใดพบว่าแมคคาเดเมียมีโทษต่อร่างกาย และยังไม่มีการวิจัยใดพบว่าการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียเป็นประจำจะทำให้เกิดการตกค้างในร่างกาย แต่สำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนจากถั่วก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้นะคะ
              
ทราบกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าทำไมแมคคาเดเมียจึงถูกขนานนามมาราชาแห่งถั่ว ก็เพราะคุณประโยชน์มากมายที่สาธยายกันแทบไม่หมดของเจ้าถั่วชนิดนี้ จึงทำให้กลายเป็นถั่วที่มีราคาแพง ใครที่สนใจอยากลองหาถั่วชนิดนี้มาลองชิมกันล่ะก็ ก็อย่าลืมเช็กตัวเองก่อนนะคะว่าแพ้ถั่วหรือเปล่า แล้วก็อย่ามัวแต่ทานถั่วชนิดนี้จนเพลินลืมทานอาหารชนิดอื่น ๆ นะจ๊ะ เพราะไม่ฉะนั้นอาจจะทำให้ขาดสารอาหารที่สำคัญได้จ้า
ที่มา : http://health.kapook.com/

คุณประโยชน์ ของถั่วแมคคาเดเมีย

พฤศจิกายน 14, 2560

ประโยชน์ ของถั่วแมคคาเดเมีย





เครดิตรูปภาพ : immaeatthat.com/2014/01/10/macadamia-nut-banana-cookies/
เมื่อพูดถึงอาหารสุขภาพที่ทำจากถั่ว ทุกคนย่อมนึกถึงถั่วอัลมอนด์กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างแน่นอน
 ขณะที่มะพร้าวแม้จะไม่ใช่พืชตระกูลถั่วแต่ก็ได้รับความสนใจมากเช่นกัน ส่วนถั่วลิสงอย่างน้อยก็มีเสิร์ฟ
ให้บรรดาผู้โดยสารบนเครื่องบินนะ แต่ตอนนี้มีดาวเด่นดวงใหม่เริ่มกำลังเป็นที่ฮือฮาในวงการถั่วแล้ว
 นั่นคือถั่วแมคคาเดเมียที่นอกจากรสชาติจะอร่อยแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย ที่สำคัญมีคุณประโยชน์
ด้านความงามสุดๆ

1. ถั่วแมคคาเดเมียมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ

ซึ่งช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล










เครดิตรูปภาพ :http://www.hatyailike.com/content/detail/3046
แม้ถั่วแมคคาเดเมียจะอัดแน่นไปด้วยแคลอรี่แต่ก็มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งดีต่อหัวใจเป็นปริมาณมหาศาล
 (เหมือนกับกรดโอเลอิกกับกรดปาลมิโตเลอิก) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็น “ไขมันดี” ที่ร่างกายของเราต้องการ
และช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล (LDL) กับความดันโลหิตสูงได้
อันที่จริงการศึกษาเกี่ยวกับวิตามินและโภชนาการในวารสาร International เมื่อปี 2006 พบว่าไขมันในถั่วแมคคาเดเมีย
ร้อยละ 82.6 คือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ขณะที่น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวร้อยละ 70-80 ขึ้นอยู่กับชนิดของมัน

2. มีคุณประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณ

ต้องขอบคุณวิตามิน, แร่ธาตุ, สารอาหารที่มีประโยชน์ และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคลเซียม, เหล็ก,
 แมกนีเซียม, ซิงค์, เซเลเนียม, น้ำมันปลาฉลาม, โทโคฟีรอล (วิตามินอี) วิตามินเอ และฟลาโวนอยด์
ซึ่งเป็นส่วนประกอบของถั่วแมคคาเดเมียที่ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งจากภายในสู่ภายนอก
บวกกับกรดไขมันที่ปกป้องและสร้างเสริมสุขภาพของเซลล์รวมทั้งให้ความชุ่มชื้นด้วย ขณะที่ฟลาโวนอยด์
กับโทโคฟีรอลในถั่วแมคคาเดเมียจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อปกป้องผิวจากการถูกทำลาย
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าน้ำมันปลาฉลามที่อยู่ในถั่วแมคคาเดเมียจะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
และช่วยสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย ดังนั้นการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียหรือทาน้ำมันถั่วแมคคาเดเมีย
จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันปลาฉลามในเนื้อเยื่อผิว ที่สำคัญน้ำมันถั่วแมคคาเดเมียยังช่วยในเรื่องการบำรุงผิว
และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อย่างไม่น่าเชื่อ กรดปาลมิโตเลอิกในน้ำมันจะทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล เต่งตึง
และผ่องใสมากยิ่งขึ้น พยายามนวดน้ำมันลงบนบริเวณที่มีปัญหา เช่น แผลแห้งตกสะเก็ด และดูประสิทธิภาพ
ในการรักษาของมัน

3. เพิ่มพลังและช่วยทำให้อิ่มท้องนานขึ้น

นอกจากไขมันดีมีประโยชน์แล้วยังอุดมไปด้วยวิตามิน ตั้งแต่วิตามินบีรวมซึ่งช่วยในเรื่องกระบวนการเมทาบอลิก
และทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แถมมีเส้นใยอาหารจำนวนมหาศาลโดยถั่วแมคคาเดเมียเพียง 11 เม็ดก็ทำให้คุณ
ได้รับเส้นใยอาหารถึงร้อยละ 7 ของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน และทำให้อิ่มท้องนานกว่าถั่ว
ชนิดอื่นอีกด้วย

4. น้ำมันแมคคาเดเมียเหมาะสำหรับนำมาใช้ปรุงอาหาร

เมื่อพูดถึงเรื่องปรุงอาหาร น้ำมันมะกอกกับคาโนล่าคือน้ำมันที่มีจุดเกิดควันต่ำ ซึ่งหมายความว่าจริงๆแล้ว
น้ำมันสองชนิดนี้ไม่เหมาะนำมาปรุงอาหาร ในทางกลับกันน้ำมันแมคคาเดเมียมีจุดเกิดควันสูงซึ่งเหมาะสำหรับ
การปรุงอาหารที่ไม่ใช้ไฟฟ้า และก่อให้เกิดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงอย่างไม่น่าเชื่อ
(สูงกว่าน้ำมันคาโนล่าประมาณร้อยละ 20 และในบางกรณีจะเท่ากับหรือสูงกว่าน้ำมันมะกอกเสียอีก)
นอกจากนี้รสชาติเบาๆของมันยังเหมาะที่จะเป็นเครื่องปรุงรสทุกชนิดรวมถึงน้ำราดบนเนื้อปลา, ไก่, ผัก
และอาหารประเภทผัดต่างๆด้วย หรือหากนำมาราดบนข้าวโพดคั่วก็จะช่วยทั้งในเรื่องสุขภาพ
และยังเพิ่มรสชาติอร่อยอีกด้วย

5. นมแมคคาเดเมียดีกว่านมอัลมอนด์

เมื่อนำมาใส่ในกาแฟ


น้ำมันมะพร้าวเชิญหลบไป!เพราะปี 2015 เป็นปีของถั่วแมคคาเดเมีย
ประโยชน์ของถั่วแมคคาเดเมีย
เครดิตรูปภาพ : immaeatthat.com/2014/01/10/macadamia-nut-banana-cookies/

เมื่อพูดถึงอาหารสุขภาพที่ทำจากถั่ว ทุกคนย่อมนึกถึงถั่วอัลมอนด์กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างแน่นอน
 ขณะที่มะพร้าวแม้จะไม่ใช่พืชตระกูลถั่วแต่ก็ได้รับความสนใจมากเช่นกัน ส่วนถั่วลิสงอย่างน้อย
ก็มีเสิร์ฟให้บรรดาผู้โดยสารบนเครื่องบินนะ แต่ตอนนี้มีดาวเด่นดวงใหม่เริ่มกำลังเป็นที่ฮือฮาในวงการถั่วแล้ว
 นั่นคือถั่วแมคคาเดเมียที่นอกจากรสชาติจะอร่อยแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย
 ที่สำคัญมีคุณประโยชน์ด้านความงามสุดๆ

1. ถั่วแมคคาเดเมียมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อหัวใจซึ่งช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล
ถั่วแมคคาเดเมียมีประโยชน์ต่อหัวใจ ลดระดับคลอเรสเตอรอล

แม้ถั่วแมคคาเดเมียจะอัดแน่นไปด้วยแคลอรี่แต่ก็มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งดีต่อหัวใจเป็นปริมาณมหาศาล
 (เหมือนกับกรดโอเลอิกกับกรดปาลมิโตเลอิก) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็น “ไขมันดี” ที่ร่างกายของเราต้องการ
และช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล (LDL) กับความดันโลหิตสูงได้

อันที่จริงการศึกษาเกี่ยวกับวิตามินและโภชนาการในวารสาร International เมื่อปี 2006 พบว่าไขมันในถั่วแมคคาเดเมีย
ร้อยละ 82.6 คือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ขณะที่น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวร้อยละ 70-80 ขึ้นอยู่กับชนิดของมัน

2. มีคุณประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณ
ถั่วแมคคาเดเมียมีประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณ

ต้องขอบคุณวิตามิน, แร่ธาตุ, สารอาหารที่มีประโยชน์ และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคลเซียม, เหล็ก, แมกนีเซียม, ซิงค์,
 เซเลเนียม, น้ำมันปลาฉลาม, โทโคฟีรอล (วิตามินอี) วิตามินเอ และฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของถั่วแมคคาเดเมีย
ที่ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งจากภายในสู่ภายนอก บวกกับกรดไขมันที่ปกป้องและสร้างเสริมสุขภาพของเซลล์
รวมทั้งให้ความชุ่มชื้นด้วย ขณะที่ฟลาโวนอยด์กับโทโคฟีรอลในถั่วแมคคาเดเมียจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
เพื่อปกป้องผิวจากการถูกทำลาย

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าน้ำมันปลาฉลามที่อยู่ในถั่วแมคคาเดเมียจะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
และช่วยสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย ดังนั้นการรับประทานถั่วแมคคาเดเมียหรือทาน้ำมันถั่วแมคคาเดเมีย
จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันปลาฉลามในเนื้อเยื่อผิว ที่สำคัญน้ำมันถั่วแมคคาเดเมียยังช่วยในเรื่องการบำรุงผิว
และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อย่างไม่น่าเชื่อ กรดปาลมิโตเลอิกในน้ำมันจะทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล เต่งตึง 
และผ่องใสมากยิ่งขึ้น พยายามนวดน้ำมันลงบนบริเวณที่มีปัญหา เช่น แผลแห้งตกสะเก็ด และดูประสิทธิภาพ
ในการรักษาของมัน

3. เพิ่มพลังและช่วยทำให้อิ่มท้องนานขึ้น
ถั่วแมคคาเดเมียเพิ่มพลังและทำให้อิ่มนาน

นอกจากไขมันดีมีประโยชน์แล้วยังอุดมไปด้วยวิตามิน ตั้งแต่วิตามินบีรวมซึ่งช่วยในเรื่องกระบวนการเมทาบอลิก
และทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แถมมีเส้นใยอาหารจำนวนมหาศาลโดยถั่วแมคคาเดเมียเพียง 11 เม็ด
ก็ทำให้คุณได้รับเส้นใยอาหารถึงร้อยละ 7 ของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน และทำให้อิ่มท้องนานกว่า
ถั่วชนิดอื่นอีกด้วย

4. น้ำมันแมคคาเดเมียเหมาะสำหรับนำมาใช้ปรุงอาหาร
น้ำมันแมคคาเดเมียเหมาะนำมาใช้ปรุงอาหาร

เมื่อพูดถึงเรื่องปรุงอาหาร น้ำมันมะกอกกับคาโนล่าคือน้ำมันที่มีจุดเกิดควันต่ำ ซึ่งหมายความว่า
จริงๆแล้วน้ำมันสองชนิดนี้ไม่เหมาะนำมาปรุงอาหาร ในทางกลับกันน้ำมันแมคคาเดเมียมีจุดเกิดควันสูง
ซึ่งเหมาะสำหรับการปรุงอาหารที่ไม่ใช้ไฟฟ้า และก่อให้เกิดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 
(สูงกว่าน้ำมันคาโนล่าประมาณร้อยละ 20 และในบางกรณีจะเท่ากับหรือสูงกว่าน้ำมันมะกอกเสียอีก)
 นอกจากนี้รสชาติเบาๆของมันยังเหมาะที่จะเป็นเครื่องปรุงรสทุกชนิดรวมถึงน้ำราดบนเนื้อปลา, ไก่, ผัก
 และอาหารประเภทผัดต่างๆด้วย หรือหากนำมาราดบนข้าวโพดคั่วก็จะช่วยทั้งในเรื่องสุขภาพ
และยังเพิ่มรสชาติอร่อยอีกด้วย

5. นมแมคคาเดเมียดีกว่านมอัลมอนด์เมื่อนำมาใส่ในกาแฟ
นมแมคคาเดเมียดีกว่านมอัลมอนด์เมื่อนำมาใส่ในกาแฟ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วนมเป็นเพียงทางเลือกเดียวในร้านกาแฟ จากนั้นตามมาด้วยนมถั่วเหลือง
และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานมอัลมอนด์ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนผู้รักสุขภาพ 
และเมื่อเร็วๆนี้ก็เริ่มมีการใช้กัญชง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกะทิ แต่ล่าสุดร้านกาแฟจิ๋วแต่แจ๋วในลาร์ชมอนท์ 
ลอสแองเจลีสได้ประกาศว่าลาเต้นมอัลมอนด์-แมคคาเดเมียของพวกเขาเป็น “ลาเต้ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอเมริกา”
 และหวังว่านี่จะกลายเป็นกระแสใหม่ที่สร้างความฮือฮาในปี 2015 นี้ โดยชาร์ลส์ บาบินสกี้ หุ้นส่วนเจ้าของร้าน
กล่าวว่าพวกเขาใส่ถั่วแมคคาเดเมียเพิ่มลงไปเพื่อให้ไขมันผสมกับนมจนมีรสชาติกลมกล่อมและอร่อยอย่างล้ำลึก

Source : www.byrdie.com/macadamia-nut-beauty-benefits/
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วนมเป็นเพียงทางเลือกเดียวในร้านกาแฟ จากนั้นตามมาด้วยนมถั่วเหลือง
และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานมอัลมอนด์ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนผู้รักสุขภาพ
และเมื่อเร็วๆนี้ก็เริ่มมีการใช้กัญชง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกะทิ แต่ล่าสุดร้านกาแฟจิ๋วแต่แจ๋วในลาร์ชมอนท์
 ลอสแองเจลีสได้ประกาศว่าลาเต้นมอัลมอนด์-แมคคาเดเมียของพวกเขาเป็น “ลาเต้ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอเมริกา”
และหวังว่านี่จะกลายเป็นกระแสใหม่ที่สร้างความฮือฮาในปี 2015 นี้ โดยชาร์ลส์ บาบินสกี้
หุ้นส่วนเจ้าของร้านกล่าวว่าพวกเขาใส่ถั่วแมคคาเดเมียเพิ่มลงไปเพื่อให้ไขมันผสมกับนมจนมีรสชาติกลมกล่อม
และอร่อยอย่างล้ำลึก
Source : www.byrdie.com/macadamia-nut-beauty-benefits/

ประวัติแมคคาเดเมียในประเทศไทย

พฤศจิกายน 14, 2560

ประวัติแมคคาเดเมียในประเทศไทย






ใน พ.ศ. ๒๔๙๖ องค์การยูซอม (USOM: United state Operation Mission) ของสหรัฐอเมริกา
ได้จัดส่งเมล็ดพันธุ์มะคาเดเมียชนิดผลเปลือกเรียบ (Macadamia integrifolia) ให้แก่ประเทศไทย
 ผ่านทางกรมกสิกรรม (ต่อมา กรมนี้ได้รวมกับกรมการข้าวเป็นกรมวิชาการเกษตร) ซึ่งได้ส่งไปทดลองปลูก
ที่สถานีกสิกรรมหลายแห่ง โดยเฉพาะที่สถานีกสิกรรมบางกอกน้อย แต่ส่วนใหญ่ไม่ติดผล
 มีสถานีกสิกรรมฝางเพียงแห่งเดียวที่เริ่มติดผล แต่ผลก็ไม่ได้ขนาดมาตรฐานสากล
 และไม่มีการจดสถิติผลิตผล คงปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นมะคาเดเมียที่ทดลองปลูกชุดแรก
 ที่ยังมีเหลืออยู่ในขณะนี้ ก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เพราะขาดการดูแลรักษา

ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ นายประสิทธิ์  พุ่มชูศรี เจ้าของสวนชาระมิงค์ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
และ ม.ร.ว. จักรทอง  ทองใหญ่ ปลัดกระทรวงเกษตรขณะนั้น ได้ขอกิ่งพันธุ์มะคาเดเมีย จากมหาวิทยาลัยฮาวาย
 สหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลานั้น ห้ามนำพืชชนิดนี้ ออกนอกประเทศ และในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
ประเทศไทยได้รับมอบกิ่งพันธุ์ ๓ พันธุ์ คือ พันธุ์ # ๒๔๖ พันธุ์ # ๓๓๓ และพันธุ์ # ๕๐๘
โดยมีเจ้าหน้าที่กรมกสิกรรมเข้าร่วมศึกษาวิธีการขยายพันธุ์แบบเสียบยอด และเสียบข้างกับต้นตอมะคาเดเมีย
ที่มีอยู่แล้ว ที่สวนชาระมิงค์ และฟาร์มแม่มาลัย ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง ที่สถานีกสิกรรมฝาง
และสถานีกสิกรรมดอยมูเซอ หลังจากนั้นประมาณ ๑ เดือน จึงได้ส่งกิ่งพันธุ์มาให้กระทรวงเกษตร
โดยกรมกสิกรรมนำพันธุ์ไปเสียบกิ่งไว้ที่สถานีกสิกรรมฝาง และสวนของนายประสิทธิ์  พุ่มชูศรี

กิ่งพันธุ์มะคาเดเมียที่ใช้ขยายพันธุ์ทั้ง ๒ ครั้ง ส่วนใหญ่นำไปไว้ที่สวนของนายประสิทธิ์  พุ่มชูศรี
หลังจากที่นายประสิทธิ์เสียชีวิต ต้นมะคาเดเมียที่เหลืออยู่ก็ไม่ได้มีการดูแลรักษาที่ดีหรือจดประวัติไว้
จนไม่สามารถสืบค้นต้นพันธุ์ได้ ส่วนที่สถานีกสิกรรมฝาง และดอยมูเซอ ก็เกิดปัญหาในกรณีเดียวกัน

ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ นายไพโรจน์  ผลประสิทธิ์ แห่งกองค้นคว้าและทดลองกสิกรรม
ได้ขอพันธุ์ชนิดที่เสียบกิ่งแล้วอีก ๔ พันธุ์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย นำมาทดลองปลูกที่สถานีกสิกรรมฝาง
 และเริ่มเก็บผลได้ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ แต่มีสถิติไม่แน่นอน


ใน พ.ศ. ๒๕๒๖ นายอวยชัย  วีรวรรณ แห่งบริษัท เจ.เอฟ.บี. จำกัด ได้สั่งซื้อกิ่งพันธุ์และเมล็ดพันธุ์
 จากประเทศออสเตรเลีย มอบให้กรมวิชาการเกษตร และนายประพัตร  สิทธิสังข์
 เจ้าของสวนมะม่วงที่จังหวัดเชียงใหม่ นำไปทดลองปลูก สำหรับกรมวิชาการเกษตร
ได้สั่งซื้อต้นพันธุ์ขนาดเล็กที่ทาบกิ่งสำเร็จแล้วด้วย ต้นพันธุ์เหล่านี้เติบโตช้า
 เพราะส่งมาโดยล้างดินออกหมดเหลือแต่รากเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงมีอัตราตายร้อยละ ๑๐-๑๕
สำหรับต้นที่เหลือนำไปปลูกที่สวนวังน้ำค้าง ของอาจารย์พันธุ์เลิศ  บูรณะศิลปิน
และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นพันธุ์มะคาเดเมีย ที่สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง

 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ [ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) 

จังหวัดเชียงใหม่]

บุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มะคาเดเมีย คือ นายดำเกิง  ชาลีจันทร์ 

หัวหน้าสำนักงานการเกษตรที่สูง กรมวิชาการเกษตร โดยกรมวิชาการเกษตรได้มอบหมาย

ให้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และพัฒนาพืชมะคาเดเมีย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ ในระยะแรก

มีอุปสรรคนานัปการ แต่ด้วยวิริยอุตสาหะ และความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ 

จนกระทั่งการพัฒนาพันธุ์ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนด้านความรู้ 

เกี่ยวกับมะคาเดเมียจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากประเทศออสเตรเลีย และรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา

 จนทำให้เกษตรกรได้มีความรู้ ในการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตมะคาเดเมีย

 มาจนถึงทุกวันนี้ และจากการค้นคว้าและวิจัยดังกล่าวทำให้ได้พันธุ์ทดลองอีก ๘ พันธุ์

 คือ พันธุ์ # ๒๔๖, พันธุ์ # ๓๓๓, พันธุ์ # ๓๔๔, พันธุ์ # ๕๐๘, พันธุ์ # ๖๖๐

, พันธุ์ # ๗๔๑, พันธุ์ # ๘๐๐, พันธุ์ Hinde (H2)


















สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปลูกมะคาเดเมียที่ไร่นวุติ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ 

เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ 

ทรงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการปลูกมะคาเดเมีย ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ 
จังหวัดเชียงราย

การพัฒนาพันธุ์ทั้ง ๘ พันธุ์นี้ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้จัดซื้อต้นพันธุ์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นความสำคัญของพืชชนิดนี้ ต่อมาในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ 
จึงได้รับต้นพันธุ์ ที่สั่งซื้อทั้ง ๘ พันธุ์ และใน พ.ศ. ๒๕๒๘ ทางกรมวิชาการเกษตรได้สั่งซื้อพันธุ์
จากประเทศออสเตรเลียเพิ่มเติมอีก ๒ พันธุ์ คือ โอซี (OC: Own Choice) 
และพันธุ์เอชวาย (HY: Rankine) นับว่า เป็นการรวบรวมพันธุ์มะคาเดเมียที่ใช้ปลูก
เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้า ที่มีอยู่ในรัฐฮาวาย และออสเตรเลียทั้งหมด





นายดำเกิง  ชาลีจันทร์ 
หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาพืชมะคาเดเมีย 
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖



















นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้นำเข้าเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะเป็นต้นตอ และท่อนพันธุ์ 
สำหรับเสียบขยายพันธุ์ เมื่อต้นตอที่เพาะ มีอายุได้ ๑๒-๑๘ เดือน ซึ่งในปัจจุบันมีแปลงต้นพันธุ์
ที่สามารถขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ในระดับ ๑๐๐-๒๐๐ ไร่ อยู่ ๓ แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา
การเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง)
 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย แหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ทั้ง ๓ แห่ง
 มีพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ 

ในการส่งเสริมการปลูกมะคาเดเมีย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 

ทรงมีบทบาทสำคัญ โดยทรงนำไปปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ 
เป็นตัวอย่างการปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือกมะคาเดเมียพันธุ์ดี ๓ พันธุ์ เพื่อให้เกษตรกร

นำไปปลูกเป็นการค้า คือ

๑. พันธุ์เชียงใหม่ ๔๐๐ (HAES 660)


เป็นพันธุ์เบาและออกดอกดก ใช้ปลูกรวมกับพันธุ์อื่น เพื่อช่วยผสมเกสรให้พันธุ์อื่น

 โดยมีอัตราส่วนพันธุ์เชียงใหม่ ๔๐๐ จำนวน ๑ แถวต่อพันธุ์อื่น จำนวน ๓ แถว
 พันธุ์เชียงใหม่ ๔๐๐ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง ๗๐๐ เมตรขึ้นไป
 แต่ถ้าเป็นพื้นที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง ๔๐๐-๖๐๐ เมตร 
ต้องอยู่ในแนวเส้นละติจูด ๑๙.๘ องศาเหนือขึ้นไป ได้แก่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อเสียคือ ผลมีขนาดเล็ก มีจำนวนเมล็ด ๑๗๕-๑๙๐ เมล็ด/กิโลกรัม ผลิตผลเมล็ดทั้งกะลา จำนวน ๑๓-๒๐ กิโลกรัม/ต้น (อายุ ๑๔ ปี) ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
และสภาพพื้นที่

๒. พันธุ์เชียงใหม่ ๗๐๐ (HAES 741)


ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักเนื้อในมากกว่าพันธุ์เชียงใหม่ ๔๐๐

 และพันธุ์เชียงใหม่ ๑๐๐๐ เมล็ดเนื้อในมีสีขาวสวยเป็นที่ดึงดูดตา เจริญเติบโตดี ให้ผลิตผลสูง
 และมีคุณภาพดี ในพื้นที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง ๗๐๐ เมตรขึ้นไป
 ผลิตผลเมล็ดทั้งกะลาจำนวน ๑๕-๓๐ กิโลกรัม/ต้น (อายุ ๑๔ ปี)

๓. พันธุ์เชียงใหม่ ๑๐๐๐ (HAES 508)


ผลมีขนาดปานกลาง เนื้อในมีคุณภาพยอดเยี่ยมคือ มีรูปทรงและสีสวย พันธุ์เชียงใหม่ ๑๐๐๐

 เจริญเติบโตดี และให้ผลิตผลสูง ในสภาพอากาศหนาวเย็นที่ระดับความสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป 
เป็นพันธุ์ทนแล้งแต่ไม่ทนร้อน ถ้าปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า ๗๐๐ เมตรลงมาจะเกิดอาการแพ้ความร้อนคือ
 ใบเหลืองซีด ขอบใบไหม้ ผลิตผลเมล็ดทั้งกะลาจำนวน ๒๕-๔๐ กิโลกรัม/ต้น (อายุ ๑๔ ปี) 
ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและสภาพพื้นที่


ที่มา: